รฟม. จ่อคุย “บีอีเอ็ม” เพิ่มเงื่อนไขสัญญาสายสีส้ม หากครม.สั่งลุยค่ารถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ อาคารสำนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ตรวจราชการและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ รฟม. โดยมีนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม. พร้อมคณะให้การต้อนรับ

นายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาตรวจสอบรายละเอียดแต่ละโครงการของ รฟม. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการและโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งผลประกอบการและผลการลงทุน โดย รฟม. รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง35.9กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ1.4แสนล้านบาทซึ่งรฟม. ยืนยันว่าดำเนินการตามกระบวนการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 อย่างถูกต้อง แต่ตามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รอการพิจารณาจากศาลปกครองแล้วเสร็จก่อน ตามข้อพิพาทที่มีระหว่าง รฟม. และภาคเอกชน

ปัจจุบันยังมีข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 1 คดี กระบวนการเหล่านี้ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าศาลปกครองจะพิจารณาอย่างไร ดังนั้นโครงการนี้นับว่าปัจจุบันยังไม่ได้เกิดปัญหา ขณะที่ประเด็นเรื่องส่วนต่างราคาประมูล และวิธีจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องพวกนี้เป็นแค่ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ส่วนตัวจึงมองว่าเรื่องพวกนี้ยังไม่ได้มาถึงขั้นตอนของกระทรวงคมนาคม เรื่องสายสีส้มยังอยู่ในขั้นตอนรอศาลปกครองพิจารณาอยู่

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่าขณะที่นโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 ตลอดสายนั้น เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดัน เพื่อดูแลประชาชน ลดค่าครองชีพในการเดินทาง สนับสนุนให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น โดยปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วส่วนโครงการรถฟ้าของภาครัฐ ขณะที่โครงการที่มีสัญญากับภาคเอกชน อาทิ สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีน้ำเงิน รวมไปถึงสายสีส้มที่เปิดประมูลไปแล้ว นับว่าเป็นกลุ่มที่มี พรบ.ร่วมทุน ดังนั้นต้องมีวิธีการดำเนินการ การเจรจากับเอกชนในรูปแบบต่อไป เพื่อให้ได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตามนโยบายรัฐบาลต้องดำเนินการจัดทำค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท

ซึ่งทุกโครงการรถไฟฟ้าที่มี พรบ.ร่วมทุน เป็นโครงการPPPจะต้องมีวิธีการจัดการแตกต่างออกไปจากรถไฟฟ้าของภาครัฐ ก็ต้องรอกระบวนการเจรจาก่อน แต่แน่นอนว่านโยบายรัฐบาลมีโอกาสที่จะทำให้ทุกสายทำราคาค่าโดยสาร 20 บาท รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มที่รอลงนามสัญญาต้องเจรจากับเอกชน แต่โครงการรถไฟฟ้าร่วมทุนเหล่านี้ ต้องให้ระยะเวลาศึกษาตัวเลข วิธีการผลลัพธ์ต่างๆ และต้องทำให้รอบคอบพอ เพื่อให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้าน นายภคพงศ์ กล่าวว่า การกำหนดอัตราราคาค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น หาก ครม. มีมติให้ดำเนินการ รฟม. จะต้องเริ่มขั้นตอนเจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เอกชนผู้ชนะการประมูลใหม่ เนื่องจากโครงการนี้ปัจจุบันได้เจรจารายละเอียดในสัญญาไปแล้ว เพียงแต่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด เพื่อนำโครงการเสนอ ครม. ดังนั้นหากมีนโยบายเพิ่มรายละเอียดเรื่องปรับลดค่าโดยสาร รฟม. จะต้องเจรจากับเอกชน ซึ่งจะต้องประเมินวงเงินชดเชยให้เอกชนเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้หากกรณีที่ต้องเจรจากับเอกชนใหม่ ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ปัจจุบันงานโยธาใกล้แล้วเสร็จ แต่หากต้องกลับมาเริ่มเจรจารายละเอียดสัญญาร่วมทุนที่ต้องเพิ่มข้อมูลปรับราคาค่าโดยสารเหลือสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ทางเอกชนอาจยังไม่สามารถเริ่มเปิดให้บริการเดินรถได้

สายสีส้มตอนนี้อยู่ในขั้นตอนรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณาอีก 1 คดีที่เหลืออยู่ คือ คดีเกี่ยวกับเงื่อนไขการประกวดราคาครั้งใหม่ โดยส่วนตัวประเมินจากข้อพิพาทก่อนหน้านี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน น่าจะได้ข้อสรุป หลังจากนั้น รฟม. เสนอผลการประมูลไปยัง ครม.พิจารณาอนุมัติเพื่อลงนามสัญญา หาก ครม. มีมติให้ปรับราคาค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ทำให้ต้องกลับมาเจรจากับเอกชนเพิ่มเติม ก่อนลงนามสัญญา สำหรับค่าโดยสารที่กำหนดไว้ในสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้ม มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท หาก ครม. มีมติให้ปรับราคาลงตามนโยบายรัฐบาลทำให้มีราคาค่าโดยสารในอัตรา 15-20 บาท ซึ่งผลต่างเหล่านี้ ทำให้ต้องเจรจากับเอกชนคู่สัญญาด้วยจะสามารถชดเชยส่วนต่างอย่างไร ดังนั้นจึงยังไม่สามารถลงนามสัญญา และเริ่มเปิดเดินรถก่อนในส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่าส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง34.5กม. ปัจจุบันบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM)ผู้รับสัมปทานโครงการฯ อยู่ระหว่างการทดสอบระบบรวมทั้งหมด เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุดครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งวันที่ 25 ต.ค.นี้ จะประชุมกับNBMเพื่อหารือกับผลการทดสอบ และเตรียมความพร้อมในการเปิดทดลองให้บริการประชาชนฟรี ในช่วงเดือน ธ.ค.66 โดยจะให้บริการฟรี 1 เดือน จากนั้นจะเปิดให้บริการจริงแบบเก็บค่าโดยสารเดือน ม.ค.67 ต่อไป

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 22.1 กม. มูลค่าการลงทุน 41,720 ล้านบาทกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นมายัง รฟม. ว่า ต้องมาวิเคราะห์นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ประกอบในรายงานและเป็นเงื่อนไขในภาคเอกชนก่อนเสนอไป ครม. พิจารณาต่อไปเนื่องจากเดิมมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารไว้ที่ 15-45 บาทสำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างการทบทวนแผน โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องค่าโดยสาร ประกอบในรายงานคาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษา 2 เดือนเพื่อเสนอกลับไปยังกระทรวงคมนาคมได้ภายใน ธ.ค.66 ก่อนเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติช่วงต้นปี 67 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนกลางปี 67 เริ่มสร้างกลางปี 68 แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการ มิ.ย.71

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่าส่วนความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ในภูมิภาค ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟม. นั้น รฟม. มีแผนจะดำเนินการนำร่องโครงการแทรมภูเก็ต ระยะที่1ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองก่อน แต่เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีการดำเนินการระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ จ.ภูเก็ตจำนวนมาก ทั้งโครงการของกรมทางหลวง(ทล.)และ โครงการของการททางพิเศษแห่งประเทศ(กทพ.)ซึ่งโครงการล้วนมีแนวเส้นทางดำเนินการบนทางหลวงหมายเลข 402สายโคกกลอย-เมืองภูเก็ต หรือถนนเทพกระษัตรี เป็นทางหลวงสายหลักของ จ.ภูเก็ต ดังนั้นตามแนวเส้นทางโครงการแทรมภูเก็ต ระยะที่1อยู่บน ทล.402 ซึ่งหากมีโครงการจำนวนมากมาดำเนินการพร้อมกันบน ทล.402 จะทำให้สร้างผลกระทบปัญหาด้านจราจรเพิ่มมากขึ้น จึงขยับแผนโครงการออกไปก่อน เพื่อรอเวลาที่เหมาะสม และไม่กระทบปัญหาจราจร

ส่วนแทรมเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี),แทรมนครราชสีมา (โคราช) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) และแทรมพิษณุโลก สายสีแดง (มหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพลาซ่า) ก็เช่นเดียวกัน